ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจในเด็ก

ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจในเด็ก

ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจในเด็ก

ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจในเด็ก อันตรายใกล้ตัวลูกน้อยมากกว่าที่คิดเสี่ยงเสียชีวิตได้ วันนี้เราจะพามารู้กันเกี่ยวกับอาการดังกล่าว รวมทั้งวิธีการดูแลและการรักษาค่ะ

ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ พบบ่อยในเด็กช่วงอายุ 2-6 ขวบขณะนอนหลับ ซึ่งหากปล่อยไว้โดยไม่ทำการรักษาจะทำให้เด็กๆมีภาวะบกพร่องออกซิเจนขณะหลับหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับของเด็กต่ำลง ซึ่งมีส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ รวมถึงมีปัญหาด้านสุขภาพในระยะยาว ในบางรายมีอาการหัวใจโตหรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตอย่างกระทันได้ค่ะ

สาเหตุของภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจในขณะนอนหลับ มีหลายปัจจัยด้วยกันแต่ส่วนใหญ่มักเกิดจาก ต่อมทอนซิลและต่อมอดีนอยด์มีขนาดโตเบียดบังทางเดินหายใจส่วนบน ร่วมกับการคลายตัวของกล้ามเนื้อคอส่วนต้นขณะหลับทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบ นอกจากนี้อาจเกิดจากเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้ โรคอ้วน ทำให้มีไขมันสะสมที่บริเวณคอเพิ่มขึ้น หรือพบในเด็กที่มีลักษณะโครงหน้าผิดปกติ ทำให้ลักษณะทางเดินหายใจส่วนบนแคบกว่าปกติ เป็นต้น

อาการของภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจในขณะนอนหลับ มักจะมีการนอนกรมร่วมกับอาการหายใจลำบากขณะนอนหลับ สังเกตได้จากการหายใจขณะนอนหลับเด็กจะมีอาการหายใจลำบาก หายใจแรงและใช้กล้ามเนื้อกายใจมากกว่าปกติ ขณะที่หายใจเข้าหน้าอกยุบลงแต่ท้องป่องขึ้น และบางคนจะมีอาการกระสับกระส่าย พลิกตัวบ่อย อ้าปากหายใจ ปากซีดเขียว เสียงกรนขาดหายใจเป็นช่วงๆ ปัสสาวะราดรดที่นอน ซุกซน มีสมาธิสั้น มีพฤติกรรมก้าวร้าว เป็นต้น

การทดสอบภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจในเด็ก เป็นการตรวจด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะนอนหลับตลอดคืนของเด็ก ซึ่งสามารถบอกรายละเอียดของลักษณะการหายใจ การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ลักษณะคลื่นสมอง ฯลฯ การทำการทดสอบนี้จะทำที่โรงพยาบาลโดยให้เด็กมานอนที่โรพยาบาลหนึ่งคืนพร้อมกับคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง และจะนำเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์ เพื่อตรวจวัดค่าต่างๆติดด้วยสติ๊กเกอร์ตามตำแหน่งต่างๆบนตัวเด็ก และจะทำการบันทึกข้อมูลไว้ตลอดทั้งคืนค่ะ ซึ่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์สามรถบอกเราให้ทราบได้ว่า เด็กมีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะนอนหลับหรือไม่ และมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใดค่ะ

การรักษาภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจในเด็ก ซึ่งการรักษานั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุ ความรุนแรง รวมถึงอายุของผู้ป่วย อาทิเช่น

  • กรณีที่เป็นไม่มาก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถจับเด็กปรับท่าทางได้ เช่น นอนคว่ำหรือนอนตะแคง ทำให้อาการดีขึ้นได้บ้างค่ะ
  • กรณีเด็กที่เป็นโรคติดเชื้อและโรคภูมิแพ้ โดยอาจต้องใช้ยาพ่นจมูก ยาคัดจมูก
  • กรณีที่มีน้ำหนักเกินมากไปต้องลดน้ำหนัก
  • ในรายที่หยุดหายใจใต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลและอดีนอยด์ออก
  • ถ้าแก้ไขทุกอย่างแล้วไม่ดีขึ้น ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจชนิด CPAP ผ่านหน้ากากที่ครอบบนจมูกของเด็กขณะหลับ เครื่องช่วยหายใจนี้จะมีความดันบวกทำให้ทางเดินหายใจของเด็กเปิดโล่งขึ้นขณะนอนหลับ

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตสุขภาพร่างกายของเด็กๆ หากเจ็บป่วยหรือมีลักษณะอาการที่สงสัยจะได้ทำการวินิจฉัยและทำการรักษาต่อไปได้อย่างถูกต้องทันท่วงทีค่ะ