การติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดเป็นเรื่องธรรมดาในหมู่เด็กที่ไปโรงเรียน และสามารถแพร่เชื้อจากเด็กไปสู่เด็กได้อย่างรวดเร็ว แต่ไม่ถือว่าเป็นอันตรายและสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาถ่ายพยาธิค่ะ
พยาธิเข็มหมุด เป็นหนอนตัวเล็กๆมีขนาดตั้งแต่ 2 ถึง 13 มม. สีขาวคล้ายด้ายที่อาศัยอยู่ในลำไส้และจะคลานออกมาจากทวารหนักในเวลากลางคืนเพื่อวางไข่ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคันที่ทวาร ไข่พยาธิเข็มหมุดสามารถมีชีวิตอยู่ภายนอกได้นานถึง 2-3 สัปดาห์และมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าค่ะ
สาเหตุของพยาธิเข็มหมุดในเด็กที่พบบ่อยที่สุด เมื่อเด็กสัมผัสกับพยาธิเข็มหมุดหรือไข่ของของพยาธิที่ปนเปื้อนกับสิ่งของเครื่องใช้ เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม อาหาร รวมถึงการนำมือที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าปาก โดยเฉพาะเด็กที่มีพฤติกรรมการดูดนิ้วหรือกัดเล็บ การหยิบจับอาหารเข้าปากโดยไม่ล้างมือ ซึ่งไข่พยาธิเข็มหมุดสามารถมีชีวิตอยู่ภายนอกได้นานถึง 2-3 สัปดาห์ และฟักตัวเป็นพยาธิเมื่อเข้าสู่ร่างกาย และจะมีชีวิตอยู่ภายในกระเพาะอาหารได้นาน 5-6 สัปดาห์ก่อนตาย และเมื่อพยาธิตัวเมียโตเต็มที่จะออกมาวางไข่ที่บริเวณรอบรูทวารหนักในเวลากลางคืนค่ะ
อาการพยาธิเข็มหมุดในเด็ก
อาการการติเชื้อพยาธิเข็มหมุดในเด็กมักไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ อย่างไรก็ตามการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดคุณพ่อคุรแม่อาจระวังอาการทั่วไปที่พบในเด็กได้ เช่น มีอาการคันและรู้สึกไม่สบายบริเวณทวารหนักเป็นประจำโดยเฉพาะตอนกลางคืน ผื่นหรือระคายเคืองผิวหนังบริเวณทวารหนัก ซึ่งในเด็กบางคนอาจพบอาการปวดท้องแบบไม่รุนแรงค่ะ หากเด็กเกาบริเวณที่ติดเชื้ออย่างแรง ทำให้เกิดการระคายเคืองอาจนำไปสู่การติดเชื้อแบคทีเรียอื่นๆได้ค่ะ
การรักษาพยาธิเข็มหมุดในเด็ก
การรักษาพยาธิเข็มหมุดจะได้รับในรูปแบบของยาที่ใช้สำหรับสำหรับทานเข้าไป รวมกับการดูแบเอาใจใส่เรื่องความสะอาดและสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น การล้างมือด้วยน้ำสบู่ก่อนและหลังการรับประทานอาหารหรือหลังจากเข้าห้องน้ำทุกครั้ง ตัดเล็บให้สั้นเพื่อป้องกันการสะสมของไข่พยาธิปละเชื้อแบคทีเรียต่างๆ เป็นต้น
การป้องกันพยาธิเข็มหมุดในเด็ก
กุญแจสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดนั้น ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติด้านสุขอนามัยที่ดี ได้แก่
- อาบน้ำลูกทุกเช้าเพื่อล้างไข่ที่ตกค้างบนผิวหนัง
- ตัดเล็บให้สั้นและรักษาความสะอาดของเล็บอยู่เสมอ เพื่อลดการสะสมของไข่พยาธิที่ติดอยู่บนเล็บ
- เปลี่ยนชุดชั้นในเด็กทุกวัน ไม่ควรใส่ซ้ำ ลดการแพร่กระจากของเชื้อ
- สอนให้ลูกของคุณฝึกฝนการล้างมือเป็นประจำ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
- เปิดหน้าต่างเพื่อให้แสงแดดส่องเข้ามาภายในห้อง เนื่องจากไข่ของพยาธิเข็มหมุดไวต่อแสงไม่สามารถทนต่อแสงแดดได้
- ซักทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช่ด้วยน้ำอุ่น เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม เสื้อผ้า เป็นต้น
–