เมื่อรู้ว่าท้อง ควรฝากครรภ์ตอนไหนดี
คุณแม่หลายท่านมีข้อสงสัย โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่ ที่เพิ่งรู้ว่ากำลังตั้งครรภ์ เลยไม่รู้ว่าควรไปฝากครรภ์ตอนไหนดี เพราะบางตำราบอกว่าไม่จำเป็นต้องรีบไปฝากรอให้ครบ 12 สัปดาห์ก่อนก็ได้แล้วไปค่อยฝากครรภ์ แต่บางตำราก็บอกว่าถ้าหากรอถึง 12 สัปดาห์ก็อาจเสี่ยงต่อการแท้งลูกได้ เลยไม่รู้ว่าควรไปฝากตอนไหน ในครั้งนี้เรามารู้คำตอบกันว่าคุณแม่ทั้งหลายเมื่อรู้ว่าตัวเองกำลังตั้งท้องควรที่จะไปฝากครรภ์ในช่วงไหนกันค่ะ
โดยทั่วๆไป เมื่อรู้ว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ คุณแม่หลายๆท่านก็มีความกังวลจึงรีบไปหาคุณหมอเพื่อทำการฝากครรภ์ในทันที เพราะจะได้รู้ความผิดปกติอื่นๆ และก็ทำการตรวจเลือดเพื่อหาภาวะเสี่ยงต่างๆ โรคต่างๆ ที่สามารถติดได้ทางเพศสัมพันธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในขณะที่กำลังตั้งท้อง โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีอายุ 30 ปี หรือคุณแม่ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป คุณหมอก็จำเป็นต้องตรวจหาภาวะการเป็นเบาหวาน และคุณหมอก็จะแนะนำให้ทำการตรวจคัดกรองหรือวินิจฉัยเด็กทารกที่มีโคโมโซมที่ผิดปกติ รวมถึงเรื่องการปฏิบัติตัวและการเตรียมหัวนมเพื่อให้ลูกดูดนมในช่วงหลังคลอด
ไม่เพียงเท่านี้ คุณแม่จำเป็นต้องรับยาโฟลิกไปรับประทานด้วย เพื่อเป็นการป้องกันให้ลูกเป็นโรคสมองพิการ และคุณแม่อาจจะได้รับยาแก้แพ้ เพื่อลดอาการแพ้ท้องในช่วงเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ด้วย
ในปัจจุบันเทคโนโลยีพัฒนาไปก้าวไกล ทำให้การตรวจคัดกรองความผิดปกติของเด็กในครรภ์ที่มี่มากกมายได้อย่างรวดเร็ว เช่น การตรวจอัลตราซาวนด์ เพื่อตรวจดูว่ามีการตั้งครรภ์ที่เป็นปกติหรือไม่ในโพรงมดลูก ไม่ใช่เป็นการตั้งครรภ์ที่ปีกมดลูก และตรวจดูว่าคุณแม่เป็นภาวะท้องลม ซึ่งจะได้รับการรักษาในทันทีหลังจากการวินิจฉัยในช่วงแรกของการตั้งครรภ์
การตรวจวัดของอายุครรภ์จะสามารถตรวจได้แม่นยำที่สุด คือในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีประวัติการแท้งบ่อยครั้ง ในกลุ่มนี้คุณแม่จะได้รับยาป้องกันการแท้งลูกในทันที่ที่มีการตั้งครรภ์ เพราะหากรอให้อายุครรภ์ไปถึง 3 เดือน ก็ทำให้สายเกินไป ดังนั้น สรุปเรื่องการฝากครรภ์ ควรทำการฝากครรภ์ทันทีหลังจากทราบว่าตัวคุณแม่เองกำลังตั้งครรภ์ ซึ่งเพื่อความปลอดภัยทั้งตัวคุณแม่และตัวลูกของคุณแม่ เพราะหากรอนานจนเกินไป อาจจะต้องพบกับความเสี่ยงที่มากมายและสายเกินไปที่จะแก้ไขค่ะ
การเตรียมตัวการฝากครรภ์
อย่างแรกควรเลือกสถานที่การฝากครรภ์ที่ใกล้บ้านมากที่สุด ซึ่งสถานที่ของการฝากครรภ์ มีดังต่อไปนี้
- โรงพยาบาล
- คลีนิค
- สถานีอนามัย (โรงพยาบาลประจำตำบล)
- ศูนย์แม่และเด็ก
- ศูนย์บริการทางการแพทย์
หลักฐานเอกสารของการฝากครรภ์
- บัตรประจำตัวประชาชนของคุณแม่ และคุณพ่อ
- ประวัติการรักษา การแพ้ยา ประวัตการมีบุตร และโรคประจำตัว
- ข้อมูลการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย
ขั้นตอนการฝากครรภ์
- แพทย์จะทำการซักประวัติต่างๆ อย่างละเอียด เช่น การตั้งครรภ์เมื่อไร ลักษณะวิธีการคลอด (เคยผ่านการคลอดมาแล้ว) ผ่านการทำแท้งหรือไม่ มีโรคประจำตัวหรือไม่ เคยมีประวัติการรักษาอะไรบ้าง และแพ้ยาอะไรหรือไม่ และซักประวัติของคนในครอบครัวเพื่อทำการตรวจหาความเสี่ยงต่างๆ
- แพทย์จะทำการตรวจร่างกายอย่างละเอียด วัดความดันโลหิต มีการบวมตามร่างกายหรือไม่ ตรวจปริมาณน้ำตาลโปรตีนในปัสสาวะเพื่อดูความเสี่ยงเป็นภาวะครรภ์เป็นพิษหรือไม่
- ตรวจครรภ์ โดยวิธีการคลำความสูงของมดลูกว่ามีความเหมาะสมกับอายุครรภ์หรือไม่
- ตรวจการเต้นของหัวใจ หรือทำการอัลตราซาวด์ แต่ก็ขึ้นอยู่กับอายุครรภ์่
- จัดยาที่เหมาะสมมาให้รับประทาน
บทความที่เกี่ยวข้อง