ปานสตรอเบอรี่

ปานสตรอเบอรี่ (Strawberry Hemangioma)

ปานสตรอเบอรี่ ชื่อแสนน่ารักแต่เมื่อขึ้นบนผิวหนังของลูกน้อยอาจดูไม่น่ารักอย่างที่คิดค่ะ ในฐานะของพ่อแม่มักวิตกกังวลเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเกิดขึ้นกับลูกน้อยไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆหรือเรื่องใหญ่ รวมไปถึงปานซึ่งสำหรับหลายบ้านอาจมองว่าเป็นเรื่องปกติ แต่สำหรับบางคนอาจไม่สบายใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นค่ะ และวันนี้จะพาคุณแม่มาทำความรู้จักกับปานสตรอเบอรี่ค่ะ

ปานสตรอเบอรี่คืออะไร

ปานสตรอเบอรี่ Strawberry Hemangioma หรือทางการแพทย์เรียกว่า Infantile hemangioma เป็นโรคเนื้องอกหลอดเลือดชนิดหนึ่งแต่ไม่ใช่มะเร็งค่ะ เกิดจากจากการสะสมของหลอดเลือดใกล้กับผิวของผิวหนัง ปานเหล่านี้มักเกิดในเด็กเล็กและทารก แต่ปานของสตรอเบอร์รี่มักไม่ปรากฏตั้งแต่แรกเกิดค่ะ โดยทั่วไปมักจะขึ้นหลังคลอด 2 สัปดาห์หรือมากกว่านั้นค่ะ

สัญญาณและอาการของปานสตรอเบอร์รี่

ปานสตรอเบอรี่สามารถขึ้นได้ทั่วร่างกายค่ะ ตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุดคือ ใบหน้า ศีรษะ หน้าอก เป็นต้น สตรอเบอรี่ปานอาจมีลักษณะคล้ายปานแดงประเภทอื่นๆ โดยแบ่งตามความลึกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่

  • ก้อนเนื้อชั้นผิวเผินหรือชั้นตื้น (Superficial hemangiomas) ลักษณะคือเป็นรอยปานสีแดงสดคล้ายสีสตรอเบอร์รี่อยู่บนผิวหนังหรือนูนขึ้นเล็กน้อย
  • ก้อนเนื้ออยู่ในชั้นลึก (Deep hemangiomas) โดยที่ปานดังกล่าวที่อยู่บนชั้นผิวหนังของผิวหนัง จะออกเป็นสีเขียวหรือฟ้าอมเขียว เหมือนสีของเส้นเลือดที่เราเห็นตามผิวหนังค่ะ
  • ก้อนเนื้อแบบผสม (Combined hemangiomas) โดยที่ปานจะมีก้อนของเนื้อในชั้นลึก และด้านบนผิวหนังจะเห็นรอยปานสีแดงค่ะ

ปานสตรอเบอรี่อันตรายหรือไม่

โดยทั่วไปปานสตรอเบอรี่สามารถหายได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องรับการรักษาหรือก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อตัวลูกน้อยค่ะ บางคนอาจทิ้งรอยแผลเป็นสีเทาไว้ภายหลังเมื่อปานจางลงค่ะ แต่ถึงอย่างไรก็ตามอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ต้องเข้ารับการรักษาเช่นกันค่ะ เช่น ปานขึ้นในบริเวณที่ทำให้การทำงานหรืออวัยวะผิดรูป เช่น ริมฝีปาก เปลือกตา ซึ่งอาจส่งผมต่อการมองเห็นได้ค่ะ  บริเวณปานเป็นแผลแตกหรือมีเลือดไหลซึมออกมา ซึ่งสร้างความเจ็บปวดให้กับเด็กๆค่ะ

การรักษาปานสตรอเบอร์รี่

เนื่องจากรอยปานของสตรอเบอร์รี่ส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตรายและจางหายไปตามกาลเวลา สำหรับวิธีการรักษาเบื้องต้นคือการพาลูกน้อยเข้าพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยลักษณะของปานสตรอเบอรี่และตำแหน่งที่ปานขึ้นค่ะ ซึ่งส่วนใหญ่การรักษาคือการควบคุมเพื่อไม่ให้ก้อนปานขยายใหญ่ขึ้นและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง