ทารกถ่ายเหลวเป็นน้ำ ผิดปกติหรือไม่
ทารกถ่ายเหลวเป็นน้ำ ผิดปกติหรือไม่

ทารกถ่ายเหลวเป็นน้ำผิดปกติหรือไม่วันนี้เราจะมาหาตอบพร้อมกันค่ะ เพราะเราเข้าใจว่าการเจ็บป่วยหรืออาการที่ผิดปกติของลูกน้อย มักสร้างความกังวลและความไม่สบายใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ ดังนั้นเราจะมีวิธีการสังเกตรวมถึงวิธีการดูแลลูกน้อยอย่างไร บทความนี้เรามีข้อมูลดีๆมาฝากค่ะ

โดยปกติการขับถ่ายอุจจาระของเด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันไปค่ะ ลักษณะของอุจจาระรวมถึงความถี่ในการขับถ่ายค่ะ ในเด็กทารกแรกเกิดระบบการทำงานของร่ายกาย รวมถึงสำไส้ยังมีการพัฒนาหรือทำงานได้ไม่เต็มที่เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กช่วงวัยอื่นๆค่ะ และด้วยเหตุนี้การขับถ่ายอุจจาระจึงมีลักษณะเหลวสีเหลืองน้ำตาลและคล้ายกับมัสตาร์ด หรือขับถ่ายไม่เกิน 5 ครั้งต่อวัน เพราะเด็กทารกรับประทานเพียงนมเท่านั้นและสำไส้ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารและน้ำจึงทำให้อุจจาระยังไม่จับตัวกันเป็นก้อนค่ะ แต่ถึงอย่างไรคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรวางใจเกี่ยวกับการขับถ่ายของลูกน้อยค่ะ เพราะในเด็กบางรายอาจมีอาการท้องร่วงได้เช่นกันค่ะ โดยลักษณะอาการท้องเสียในเด็กทารกสามารถสังเกตได้ดังนี้ค่ะ อุจจาระเหลวเป็นน้ำมากกว่า 6 – 8 ครั้งต่อวัน อุจจาระไหลพุ่งออกมา มีมูกหรือเลือดปน หรือมีไข้ร่วมด้วยค่ะ

การดูแลลูกน้อยอุจจาระเหลว
– หากลูกน้อยถ่ายเหลวเนื่องจากอาการท้องเสียนานเกิน 6 ชั่วโมง ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันทีค่ะ
– หากลูกมีอาการท้องร่วงและอาเจียนหรือมีไข้ร่วมด้วย ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันทีค่ะ เพราะอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อค่ะ
– สำหรับเด็กที่กินนมแม่อย่าหยุดให้นมลูกค่ะสามารถให้นมอย่างต่อเนื่องได้ค่ะ
– เพื่อป้องกันการขาดน้ำและเกลือแร่ในร่างกายให้ลูกดื่มน้ำเกลือแร่ค่ะ
– คุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังเรื่องความสะอาด ล้างมือทุกครั้งหลังเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือหลังออกจากห้องน้ำทุกครั้งค่ะ รวมทั้งความสะอาดของขวดนมและอุปกรณ์สำหรับลูกน้อยค่ะ

ลูกถ่ายเหลวแบบไหนที่ต้องพบแพทย์
ท้องเสียและอุจจาระเป็นน้ำในทารก มีความจำเป็นที่ต้องระมัดระวังและควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์หากแสดงอาการเหล่านี้
– เมือกในอุจจาระ หากพบว่าอุจจาระมีลักษณะมูกหรือเมือกคล้ายวงหวนรอบๆอุจจาระ
– การเปลี่ยนสีและกลิ่น อุจจาระอาจเปลี่ยนเป็นสีเขียวและมีกลิ่นเหม็น ในบางครั้งอาจดูเป็นฟองค่ะ
– เลือดในอุจจาระ อาจมีจุดหรือมีเลือดปนออกมาและอาจมีไข้ร่วมด้วยซึ่งแสดงถึงการติดเชื้อ
– อาการขาดน้ำ ซึ่งมักจะแสดงอาการดังนี้ ปัสสาวะน้อยลง ปากแห้ง อ่อนเพลีย ซึ่งอาจน้ำไปสู่อาการขาดน้ำอย่างรุนแรงทำให้ช็อกได้ค่ะ

ดังนั้นการดูแลเอาใจใส่และหมั่นสังเกตอาการที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ต้องกระทำค่ะ เพื่อป้องกันการเกิดโรคและอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ค่ะ

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here