ฝีในทารก

ทารกก็เป็น “ฝี” ได้ – สาเหตุและการรักษา

ทารกก็เป็น “ฝี” ได้ – สาเหตุและการรักษา

เนื่องจากทารกมีผิวที่บอบบางและระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขายังอยู่ในช่วงการพัฒนา ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย รวมถึงฝีที่อาจเกิดขึ้นกับทารกได้เช่นกันค่ะ ซึ่งในบางครั้งอาจมองเหมือนเป็นตุ่มยุงกัดธรรมดา ดังนั้นคุณแม่ควรสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นกับลูกน้อย และในบทความนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับฝีที่เกิดขึ้นกับทารก รวมถึงอาการและวิธีการดูแลรักษาอย่างไร

ฝีคืออะไร

ฝีเป็นก้อนเนื้อนุ่มที่ปรากฏบนผิวหนังเนื่องจากการติดเชื้อในต่อมหรือรูขุมขนชั้นใต้ผิวหนัง การติดเชื้อมักเกิดขึ้นเนื่องจากแบคทีเรียในกลุ่ม staphylococcus aureus แบคทีเรียนี้อาศัยอยู่บนผิวหนัง จมูกและปาก โดยปกติผิวหนังมักทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันแบคทีเรียเหล่านี้ป้องกันไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย แต่เมื่อมีการขูดหรือกัดเป็นแผลเชื้อแบคทีเรียนี้จะเข้าสู่ร่างกายผ่านรอยแตกบนผิวหนังและพัฒนาเป็นฝีได้ ในช่วงแรกผิวหนังที่ได้รับผลกระทบจะกลายเป็นสีแดงและมีก้อนเนื้อปรากฏขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปก้อนเนื้ออาจเปลี่ยนเป็นสีขาวและมีการสะสมของหนองค่ะ ฝีที่เกิดขึ้นสามารถติดต่อไปยังบุคคลที่สัมผัส การใช้สิ่งของเครื่องใช้ เช่น ผ้าเช็ดตัว แปรงสีฟัน ฯลฯ ได้อีกด้วย

สาเหตุของการฝีในทารก

ฝีเป็นกลไกการต้านเชื้อโรคของร่างกายเกิดขึ้นชั้นใต้ผิวหนัง โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดฝีในทารกได้แก่ ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ ขาดสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี ขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย การสัมผัสสารเคมีบางชนิด เช่น การใช้สบู่หรือครีม ผงซักฟอกรุนแรง ทำให้ผิวหนังระคายเคือง รวมสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายค่ะ และโดยทั่วไปแล้วฝีในทารกจะไม่นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนใดๆ แต่หากการตุ่มนั้นถูกบีบหรือถูกแทงเปิดอาจทำให้เกิดแผลเป็นได้

สัญญาณและอาการของฝีในทารก 

โรคฝีในทารกมักจะแสดงสัญญาณและอาการดังนี้ ผิวหนังที่ได้รับผลกระทบจะมีอาการบวมและแดง ในบางครั้งเด็กอาจมีไข้ร่วมด้วย หรืออาจเกิดขึ้นได้หลายจุด และต่อมน้ำเหลืองรอบๆแผลอาจบวมขึ้นค่ะ

การรักษาฝีในทารก 

สิ่งสำคัญในการรักษาฝีคือ การรักษาความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสมและปิดด้วยผ้ากอซ เพื่อป้องกันการสัมผัสการเสียดสีกับสิ่งอื่น รวมถึงการป้องกันการแพร่กระจายของการติดเชื้อ หากดูเหมือนว่าแผลจะโตขึ้นหรือขยายใหญ่ขึ้นแพทย์อาจสั่งให้ยาปฏิชีวนะ และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์โดยเคร่งครัดมิฉะนั้นจะมีการกำเริบของโรคค่ะ และในบางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดเปิดแผลและล้างหนองออกเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด

การป้องกันการเกิดฝีในทารก

การป้องกันนั้นสามารถทำได้เพียงเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดฝี ได้แก่ 

– รักษาสุขลักษณะส่วนบุคคลที่เหมาะสมในลูกน้อยของคุณ

– ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งในขณะที่จับทารก

– เปลี่ยนผ้าเช็ดตัวและผ้าปูที่นอนของทารกอย่างสม่ำเสมอ

– ในกรณีที่เกิดฝีแล้วควรรักษาความสะอาด เพื่อป้องกันการติเชื้อในส่วนอื่นๆของร่างกาย

– รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีต่อร่างกาย

การปรากฏตัวของฝีบนผิวหนังของเด็กทารกมักไม่น่าเป็นห่วงมากนัก เพราะระบบการป้องกันตามธรรมชาติของร่างกายมักจะดูแลมันเอง แต่ในกรณีที่คุณรู้สึกว่าฝีที่เกิดขึ้นขยายใหญ่ขึ้นไม่ยุบตัวลง และแพร่กระจายไปส่วนอื่นๆของร่างกาย ควรเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ