ภาวะตาบอดในเด็ก

ตาบอดในเด็ก

ภาวะตาบอดในเด็ก

สวัสดีค่ะ หลายคนอาจเคยได้ยินว่า “ดวงตา” เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในประสาทสัมผัสของร่างกายมนุษย์ เนื่องจากชีวิตที่ปราศจากการมองเห็นเป็นสิ่งเราต่างหวาดกลัวค่ะ และเมื่อสูญเสียไปก็ไม่สามารถหาสิ่งใดเพื่อมาทดแทนได้ สำหรับผู้เป็นพ่อแม่ความกังวลนี้มีมากขึ้นเมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลกกว้างใบใหม่ เนื่องจากเด็กหลายคนมีภาวะตาบอดตั้งแต่กำเนิด หรือมีปัญหาเรื่องการมองเห็นเมื่อเด็กโตขึ้น และการอยู่โดยไม่มีสายตานั้นยากที่จะปรับตัว หากคุณสังเกตได้ว่าลูกน้อยไม่ตอบสนองตามแสงสว่าง หรือวัตถุเคลื่อนที่ก็อาจเป็นข้อบ่งชี้ของปัญหาทางด้านการมองเห็น ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการตาบอดในเด็ก สาเหตุและจะรักษาได้อย่างไร

การบกพร่องทางการมองเห็นคืออะไร

การบกพร่องทางการมองเห็นนั้นไม่จำเป็นต้องหมายความว่าลูกของคุณจะมองไม่เห็นเลย(ตาบอด) การบกพร่องทางการมองเห็นอาจหมายถึงการสูญเสียการมองเห็นอย่างสมบูรณ์ หรือการมองเห็นบางส่วนจะไม่ชัดเจน หรือแม้แต่ตาบอดสีและความผิดปกติที่เกี่ยวข้อง โดยปกติแล้วทารกจะสามารถจ้องมองหรือติดตามการเคลื่อนไหวของวัตถุได้ในช่วง 6 – 8 สัปดาห์แรก การบกพร่องทางการมองเห็นแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. วิสัยทัศน์ในการมองเห็นต่ำ

การมองเห็นต่ำ หมายถึง การมองเห็นวัตถุหรือบางสิ่งได้แต่ไม่สามารถมองเห็นทุกสิ่งที่เด็กในวัยของเขาควรจะมองเห็นได้ชัดเจน เช่น การมองเห็นแบบพร่ามัวไม่ชัดเจน ตาบอดสีซึ่งเด็กอาจจะไม่สามารถเห็นสีเฉพาะสีได้ เป็นต้น

  1. ตาบอด

เด็กที่มีภาวะตาบอดไม่สามารถมองเห็นวัตถุหรือมองตามสิ่งที่เคลื่อนไหวเมื่ออายุ 8 สัปดาห์ หรือไม่สามารถโฟกัสภาพหรือวัตถุได้ เมื่อเทียบกับหลักเกณฑ์มาตรฐานการพัฒนาการทางด้านสายตาของเด็ก

สาเหตุของการตาบอดในเด็ก

การตาบอดในเด็กอาจมีสาเหตุหลายประการตั้งแต่อุบัติเหตุจนถึงพันธุกรรม ได้แก่

  • จอตามีความผิดปกติในทารกที่คลอดก่อนกำหนด เนื่องจากสมองขาดออกซิเจนไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ทำให้เซลล์สมองเสียหายส่งผลกระทบต่อหลอดเลือดที่จอตาซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมการมองเห็น
  • มีเลือดออกในสมอง ซึ่งอาจส่งผลกระทบทำให้เกิดอาการตาบอดได้
  • ภาวะขาดวิตามินเอ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับดวงตาที่ช่วยให้การทำงานได้ดี และช่วยป้องกันการเกิดโรคที่ส่งผลกระทบต่อดวงตา
  • อุบัติเหตุจากการมีวัตถุสิ่งแปลกปลอมเข้าตาก็สามารถทำให้ตาบอดได้เช่นกันค่ะ
  • ต้อกระจกตั้งแต่กำเนิดเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ตาบอดได้ในเด็ก ซึ่งอาจเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือแม่ที่เป็นหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์
  • โรคเบาหวานในเด็กสามารถส่งผลให้จอประสาทตาซึ่งสามารถทำให้สูญเสียการมองเห็นทีละน้อย

อาการตาบอดในเด็ก

อาการตาบอดในเด็กอาจเป็นเรื่องยากสำหรับเด็กที่จะอธิบายตั้งแต่อายุยังน้อยก่อนที่เขาจะมองเห็นได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นการมองหาอาการสามารถช่วยให้คุณเข้าใจหากการสูญเสียการมองเห็นเกิดขึ้น ซึ่งคุณสามารถสังเกตได้ดังนี้

  • รูม่านตาของเด็กอาจมีขนาดไม่เท่ากัน หรืออาจมีสีขาวมากกว่าสีดำ
  • หากคุณวางสิ่งของหรือเดินเข้าไปข้างหน้าของลูกน้อย แต่ดวงตาของลูกไม่ขยับมองคุณ
  • ตาดูเหมือนจะไม่ได้มุ่งเน้นไปที่สิ่งใด หรือไม่สามารถโฟกัสภาพหรือวัตถุได้
  • ดวงตาของลูกมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ
  • ขยี้ตาบ่อยครั้ง หรือกระพริบบ่อยเกินไป 
  • ดวงตาไวต่อแสงมากและมีน้ำตาไหลเป็นประจำ

ผลกระทบของการตาบอดในเด็ก

การตาบอดไม่เพียงส่งผลต่อการมองเห็นลูกเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อบุคลิกภาพด้านอื่นๆ เช่น ลูกของคุณอาจมีปัญหาในการสื่อสาร เนื่องจากเป็นเรื่องยากสำหรับเขาที่จะเห็นคนโบกมือหรือแสดงท่าทางต่างๆ ปัญหาทางด้านความสัมพันธ์ทางด้านสังคมเนื่องจากไม่สามารถเล่นกับผู้อื่นได้ ไม่สามารถบอกความแตกต่างระหว่างกลางวันและกลางคืน ลูกของคุณอาจไม่พยายามเคลื่อนไหวเพราะไม่สามารถมองเห็นวัตถุที่น่าสนใจวางอยู่ตรงหน้า รวมถึงการเรียนรู้ที่จะเขียนและอ่านก็ยากเช่นกัน

การรักษาอาการตาบอดในเด็ก

การสูญเสียการมองเห็นอาจเป็นเรื่องปกติในเด็ก เช่น ภาวะตาขี้เกียจ ตาเข เป็นต้น ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่คุณจะเริ่มทำการรักษาตั้งแต่แรกค่ะ จึงควรไปพบแพทย์หากคุณสงสัยว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับสายตาของลูกน้อย และควรอธิบายถึงสัญญาณทั้งหมดที่ทำให้คุณรู้สึกว่าลูกของคุณอาจตาบอดกับแพทย์ เพราะในบางกรณีการผ่าตัดอาจเป็นคำตอบของปัญหา หรือในเด็กวัยเรียนหลายๆคนการใส่คอนแทคเลนส์หรือแว่นตาอาจเป็นทางออกของการรักษา และการขาดสารอาหารอาจทำให้ส่งผลกระทบต่อการมองเห็น ดังนั้นควรให้ลูกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ค่ะ การตาบอดเป็นปัญหาร้ายแรง ดังนั้นคุณควรไปพบแพทย์ทันทีที่คิดว่ามีบางอย่างผิดปกติค่ะ