ความบกพร่องทางการได้ยินในเด็ก

ความบกพร่องทางการได้ยินในเด็ก

ความสามารถในการได้ยินมีความสำคัญสูงสุดสำหรับการพัฒนาทักษะการพูดและการใช้ภาษาของเด็ก ซึ่งในบางครั้งอาจเป็นเรื่องยากในการตรวจสอบการได้ยินของเด็ก แต่ด้วยเทคนิคและเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันการสูญเสียการได้ยินในเด็กสามารถตรวจพบในระยะแรกค่ะ หากคุณรู้สึกว่าลูกของคุณอาจมีปัญหาการได้ยินควรพาลูกพบแพทย์เพื่อทำการตรวจสอบและหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ

การสูญเสียการได้ยินคือ เมื่อไม่สามารถได้ยินเสียงบางส่วนหรือทั้งหมดซึ่งเด็กอาจมีการสูญเสียการได้ยินเพียงเล็กน้อยหรือรุนแรงค่ะ หากเด็กไม่สามารถเข้าใจหรือฟังการสนทนาทั้งหมดปกติมันอาจเป็นกรณีของการสูญเสียการได้ยินเล็กน้อย ในกรณีที่เด็กมีการสูญเสียการได้ยินทั้งหมดซึ่งไม่สามารถได้ยินจากหูทั้งสองและใช้ภาษามือเพื่อการสื่อสาร อย่างไรก็ตามกลุ่มการสูญเสียการได้ยินสามารถจำแนกได้ดังนี้

  • การสูญเสียการได้ยินก่อนพูด (Pre-Lingual Deafness) คือ การสูญเสียความสามารถในการได้ยินก่อนที่เด็กจะพูดหรือเข้าใจคำศัพท์
  • มีปัญหาการได้ยินที่เกิดหลังจากที่มีภาษาพูดมาก่อนแล้ว (Post-Lingual Deafness) คือ การสูญเสียความสามารถในการได้ยินหลังจากเด็กสามารถพูดและเข้าใจคำศัพท์ได้

ประเภทของการสูญเสียการได้ยินของเด็ก

  • ความผิดปกติในการประมวลเสียงจากระบบประสาท เป็นสภาวะที่สมองไม่สามารถประมวลผล หรือแปลงคำพูดเป็นข้อความที่สื่อความหมายได้ คนที่มีความผิดปกตินี้อาจพบว่าเป็นการยากลำบากในการใช้หรือเข้าใจแหล่งที่มาของเสียง ข้อมูลจากการฟัง
  • การสูญเสียการได้ยินจากระบบการนำเสียงบกพร่อง เป็นภาวะที่ความสามารถของร่างกายในการนำคลื่นเสียงถูกขัดขวาง เกิดขึ้นเมื่อทางเดินของคลื่นเสียงได้รับผลกระทบในช่องหู ในเด็กที่หูชั้นกลางอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบมากที่สุดของการสูญเสียการได้ยิน
  • การสูญเสียการได้ยินจากประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง เป็นผลมาจากปัญหาในหูชั้นใน การสูญเสียการได้ยินของประสาทหูเสื่อม เมื่อหูชั้นในหรือเส้นประสาทหูชั้นในเสียหาย ซึ่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียการได้ยินแบบถาวร ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ การเจ็บป่วยที่รุนแรง หรือปัจจัยทางพันธุกรรม
  • การรับฟังเสียงบกพร่องแบบผสม ในกรณีที่มีการสูญเสียการได้ยินจากระบบการนำเสียงบกพร่อง ร่วมกับจากประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง ซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อหูชั้นกลางและหูชั้นในของเด็กได้รับความเสียหาย การติดเชื้อที่หูเรื้อรังค่ะ
  • การสูญเสียการได้ยินความถี่สูง การสูญเสียการได้ยินประเภทนี้เกิดขึ้นเมื่อเด็กมีปัญหาในการได้ยินเสียงภายใน 2,000 – 8000 Hz ซึ่งอาจเป็นผลมาจากปัจจัยทางพันธุกรรม การสัมผัสกับเสียงดัง การเจ็บป่วยบางอย่าง ผลข้างเคียงของยา ฯลฯ
  • การสูญเสียการได้ยินความถี่ต่ำ เมื่อมีปัญหาในการได้ยินเสียงต่ำกว่า 2,000 Hz  ซึ่งอาจเกิดจากการสูญเสียการได้ยินของระบบประสาทอาจทำให้เด็กได้ยินเสียงความถี่ต่ำ

สาเหตุการสูญเสียการได้ยินในเด็ก

การสูญเสียการได้ยินในเด็ก อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุค่ะ แต่ร้อยละ 60 เป็นเพราะสาเหตุที่สามารถป้องกันได้ โดยสาเหตุของการสูญเสียการได้ยินในเด็ก ได้แก่

  • การสูญเสียการได้ยินแต่กำเนิด อาจเป็นเพราะเหตุผลทางพันธุกรรม หรือปัจจัยอื่นๆช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ ได้แก การดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่ในขณะตั้งครรภ์ โรคเบาหวาน ความผิดปกติของสมองหรือประสาทในทารก คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดต่ำ การติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน เริม เป็นต้น
  • การสูญเสียการได้ยินชั่วคราว อาจเกิดจากการติดเชื้อหูอักเสบ เช่น โรคหูน้ำหนวกเป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก เนื่องจากมีโอกาศเกิดการอุดตันและการติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งการสูญเสียการได้ยินประเภทนี้เป็นเพียงชั่วคราวและรักษาได้ แต่หากไม่ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจทำให้แก้วหูกระดูกและประสาทหูเสียหายได้
  • การสูญเสียการได้ยินชนิดหลังการเกิด สาเหตุที่อาจส่งผลให้สูญเสียการได้ยิน ได้แก่ การบาดเจ็บที่หูหรือการบาดเจ็บที่ศีรษะ หูอักเสบ การสัมผัสเสียงดังมาก หรือโรคต่างๆ เช่น ไอกรน คางทูม โรคหัดและเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

สัญญาณและอาการของการสูญเสียการได้ยินในเด็ก สามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้

  • สัญญาณและอาการทั่วไป
    – หากลูกของคุณดูเหมือนจะไม่ตั้งใจ
    มีปัญหาด้านการสื่อสารหรือการพูด
    – ถ้าลูกของคุณให้คำตอบที่แปลกหรือไม่เกี่ยวข้อง
    – มีพฤติกรรมการโน้มเอียงหูไปทางคนที่กำลังพูดอยู่
    – ลูกของคุณพูดเสียงดัง
    – ลูกพยายามอ่านปากขณะสนทนากับคุณ
    – ลูกมีอาการปวดหูหรือได้ยินเสียงผิดปกติ
  • สัญญาณและอาการของการสูญเสียการได้ยินในทารก
    – ลูกน้อยไม่รู้สึกตกใจเมื่อได้ยินเสียงดัง

    – ลูกน้อยอายุ 6 เดือนขึ้นไป ไม่ตอบสนองต่อแหล่งกำเนิดเสียง
    – ลูกน้อยตอบสนองต่อเสียงบางอย่าง แต่ไม่ใช่เสียงทั้งหมด
    – ลูกน้อยตอบสนองหลังจากที่ได้เห็นคุณ แต่ไม่ใช่เสียงของคุณ
    – ลูกน้อยอายุ 1 ปีขึ้นไป ไม่สามารถพูดพยางค์เดียว
  • สัญญาณและอาการของการสูญเสียการได้ยินในเด็ก
    – ลูกของคุณพูดไม่ชัด

    – คำพูดของเด็กล่าช้า
    – ไม่สามารถทำตามคำแนะนำได้
    – ลูกของคุณปรับระดับเสียงทีวีสูงเกินไป
    – ลูกมักจะขอให้ทำซ้ำในสิ่งที่คุณพูด

การรักษาสำหรับเด็กที่มีการสูญเสียการได้ยิน

การรักษาอาการสูญเสียการได้ยินในเด็กแตกต่างกันไปตามความรุนแรงและอาการ แพทย์อาจแนะนำวิธีการรักษาดังต่อไปนี้

  • ยาปฏิชีวนะ ในกรณีการสูญเสียการได้ยินเกิดจากการติดเชื้อที่หูเพื่อรักษาอาการติดเชื้อ
  • เครื่องช่วยฟัง ในกรณีที่เด็กสูญเสียการได้ยินจากประสาทหูเสื่อม แพทย์อาจแนะนำให้ใช้เครื่องช่วยฟังสำหรับเด็ก เนื่องจากยาหรือการผ่าตัดจะไม่สามารถรักษาอาการสูญเสียการได้ยินชนิดนี้ได้ค่ะ
  • การผ่าตัด ในกรณีที่เด็กสูญเสียการได้ยินชนิดชั่วคราวเนื่องจากการอุดตันในหู
  • ประสาทหูเทียม ในกรณีที่เด็กกำลังมีอาการหูหนวกหรือสูญเสียการได้ยินอย่างรุนแรง แพทย์อาจแนะนำการฝังประสาทหูเทียม การผ่าตัดเพื่อแปลงเสียงให้เป็นแรงกระตุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจะถูกส่งผ่านทางหูชั้นใน
  • การบำบัดด้วยคำพูด การสูญเสียการได้ยินส่งผลกระทบต่อการพูดหรือทักษะการพูดของเด็ก แพทย์อาจแนะนำให้ใช้การบำบัดด้วยคำพูดหลังจากที่เด็กได้รับประสาทหูเทียมหรือเครื่องช่วยฟังค่ะ

การป้องกันการสูญเสียการได้ยินในเด็ก

การสูญเสียการได้ยินหลังจากเกิดแล้วสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • ทารกควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสเสียงดังในระยะแรก ซึ่งอาจทำให้แก้วหูเสียหาย
  • หลีกเลี่ยงการใช้หูฟังของเด็กอย่างน้อยอายุ 6 – 7 ปี
  • อุดหูหรือที่ครอบหูทุกครั้งที่ให้ลูกได้ยินเสียงดัง เช่น คอนเสิร์ต การแข่งขัน หรือกิจกรรมอื่นๆที่มีเสียงดังมาก
  • หลีกเลี่ยงของเล่นชิ้นเล็กหรือของแหลมที่สามารถนำเข้าหูได้
  • หลีกเลี่ยงการดูทีวีหรือฟังเพลงในระดับเสียงสูง
  • ฯลฯ

การสูญเสียการได้ยินอาจส่งผลกระทบต่อลูกของคุณมากกว่าที่คิด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการที่ผิดปกติ และควรพบแพทย์ทันทีเพื่อรักษาและรับคำแนะนำการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ