ความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์

ในปัจจุบันคนไทยมีภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่า 13 ล้านคน แต่มีเพียง 44% เท่านั้น ที่รู้ตัวเองว่าเป็นภาวะดันโลหิตและเข้ารับการรักษา ภาวะความดันโลหิต เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ หรือเป็น 1 ในสาเหตุที่ผู้เป็นภาวะนี้เสียชีวิต โดยปกติแล้วความดันโลหิตปกติของมนุษย์จะอยู่ที่ 120/80 -139/89 มิิลลิเมตรปรอท ซึ่งความดันโลหิตจะคอยผลักดันเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกาย แต่สำหรับหากใครที่มีความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง สำหรับภาวะความดันโลหิตต่ำจะอยู่ที่ 100/60 มิลลิเมตรปรอท

ภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์ คือ ภาวะที่คนท้องมีความดันโลหิตสูงอยู่ที่ 140/90ขึ้นไป ซึ่งผลจากภาวะแทรกซ้อน มักจะเกิดขึ้นตอนที่มีอายุครรภ์มาแล้ว 20 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งอันตรายมาก เพราะมีความเสี่ยงที่อันตรายต่อชีวิตได้

สาเหตุของภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์

ภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์ สาเหตุเกิดจากการหดตัวของหลอดเลือดแดงและเกิดความดันโลหิตสูงตามมา ซึ่งหากมีอาการที่รุนแรง ก็อาจส่งผลไปทำลายเนื้อเยื้อในส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตับ ไต หรือสมอง ไม่เพียงเท่านี้ เลือดที่ผ่านไปยังรกจะลดประมาณลดลง ทำให้ลูกเสี่ยงต่อการได้รับออกซิเจนและอาหารที่ไม่เพียงพอ

ภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างที่ตั้งครรภ์ สามารถเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ทุกคน แต่สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ท้องแรก ตั้งครรภ์ท้องแฝด คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุตอน 35 ปี ขึ้นไป หรือคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวาน เป็นโรคไต หรือมีความดันโลหิตสูง หรือคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วน จะมีภาวะเสี่ยงความดันโลหิตสูงมากกว่าคนอื่น

อาการที่บ่งบอกถึงภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์

อาการที่จะบ่งบอกถึงว่าเป็นภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์ มีอาการ ดังนี้

  • มีอาการบวมตามมือ ใบหน้า
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

แต่สำหรับบางรายก็ไม่แสดงอาการออกมา หรือแสดงอาการออกมาได้ไม่ชัดเจน ดังนั้น คุณแม่ที่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ จึงควรที่จะต้องฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ และหมั่นตรวจร่างกายและครรภ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับการวินิจฉัยถึงความเสี่ยงต่างๆ

ภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์ ส่งผลต่ออะไรบ้าง

  1. ส่งผลต่อคุณแม่ คุณแม่อาจเกิดอาการชัด มีเลือดออกในสมอง หรือรกมีการรอกตัวก่อนกำหนด ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจส่งผลให้โรคทวีความรุนแรงจนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
  2. ส่งผลต่อเด็กในครรภ์ เมื่อคุณแม่ภาวะความดันโลหิตสูง ปริมาณเลือดที่เข้าหล่อเลี่ยงผ่านรกจะมีปริมาณลดลง ดังนั้น จะส่งผลให้ลูกมีภาวะโตช้า หรืออาจเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์

การรักษาภาวะความดันโลหิตสูงในคุณแม่ตั้งครรภ์

สำหรับภาวะความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่อันตรายอย่างมาก เมื่อคุณหมอตรวจพบว่าคุณแม่ที่อยู่ระหว่างการตั้งครรถ์เป็นภาวะความดันโลหิตสูง คุณหมออาจจะรับตัวไว้ในโรงพยาบาลในทันที เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรค ทั้งคุณแม่ และเด็กที่อยู่ในครรภ์ พร้อมกับตรวจติดตามโรคอย่างใกล้ชิด โดยการรักษาก็จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และอายุครรภ์ของคุณแม่ ซึ่งหากคุณแม่ตั้งครรภ์ครบกำหนด หรือมีภาวะของโรค ก็จะมีแนวโน้มของโรคที่รุนแรงขึ้น การรักษาคือ ต้องยุติการตั้งครรภ์ หรือบางรายอาจจำเป็นจะต้องผ่าตัดคลอด

และเมื่อคุณแม่ปลอดภัยแล้ว ภาวะความดันโลหิตที่เพิ่มสูงขึ้น ก็จะยังไม่ได้ลดลงในทันที แต่จะกลับสู่ภาวะปกติอย่างช้าไม่เกิน 12 สัปดาห์ หลังคลอด และคุณแม่หลายท่านถามว่า หากตั้งครรภ์ต่อไป คุณแม่ก็อาจมีโอกาสเป็นภาวะนี้ซ้ำหรือไม่ คำตอบคือมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป และก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นหนักกว่าเดิม ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเข้ารับการฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อรับการประเมินถึงความเสี่ยง หรือแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้งค่ะ

คำแนะนำสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคภาวะความดันโลหิตสูง

  • พักผ่อนให้เพิ่มมากขึน โดยการนอนหลังรับประทานอาหารกลางวัน 2 ชั่วโมง และนอนกลางคืนอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
  • ทำงานให้น้อยลง หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ถูกต้องตามหลักโภชนการที่อาหารที่เหมาะสมสำหรับคนท้อง รวมทั้งการกินผัก ผลไม่้เป็นประจำ
  • รับประทานยาตามที่หมอสั่ง แต่สำหรับคุณแม่ที่เป็นความดันอยู่แล้วก่อนการตั้งครรภ์ควรนำยาไปให้หมอตรวจสอบ เพราะเนื่องจากยาบางชนิดไม่ควรกินในระหว่างที่ตั้งครรภ์
  • มาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง ฝากครรภ์ตามนัด ซึ่งได้รับการตรวจร่างกาย เจาะเลือด ตรวจการทำงานของไต การทำงานของหัวใจ และตรวจตาอย่างเหมาะสม
  • ตรวจติดตามวัดความดันโลหิตของตนเองเป็นระยะที่บ้าน โดยประมาณ 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ และจดบันทึกและนำผลตรวจให้แพทย์ช่วยประเมินอีกคั้ง
  • หากผบความผิดปกติให้รีบพบแพทย์ในทันที ซึ่งความผิดปกตินั้นได้แก่
    • เด็กดิ้นน้อยลงกว่าปกติ หรือดิ้นน้อยจดผิดสังเกตุ
    • มีอาการบวมที่หน้า ท้อง มือ เท้า หรือบวมทั้งตัว
    • น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คือ มากกว่า 2-3 กิโลกรัม/สัปดาห์
    • มีอาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว มีอาการจุก แน่นบริเวณลิ้นปี่ (ซึ่งอาการที่กล่าวมาเป็นาการเริ่มต้นของภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งส่งผลอันตรายต่อคุณแม่และเด็กได้)

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here