ความกังวัลของคุณแม่หลายๆ ท่านที่กำลังตั้งครรภ์ เป็นอันดับต้นๆคือเรื่องของการคลอดก่อนกำหนด หรือการแท้งลูก เนื่องจากหากเด็กที่คลอดในขณะที่อยู่ครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์ ซึ่งแปลว่าโอกาสการรอดชีวิตของลูกแทบจะเป็นศูนย์ ซึ่งทางการแพทย์เด็กที่อายุครรภ์ยิ่งน้อยโอกาสรอดจะต่ำ และยังทำให้เด็กไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างปกติ ยิ่งอายุครรภ์มากเด็กก็มีโอกาสรอดที่มากขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- เด็กที่คลอดโดยมีอายุครรภ์ 22-23 สัปดาห์ โอกาสที่จะสามารถเลี้ยงเด็กให้รอด 17 %
- เด็กที่คลอดโดยมีอายุครรภ์ 24-25 สัปดาห์ โอกาสที่จะสามารถเลีียงเด็กให้รอด 40-50 %
- เด็กที่คลอดโดยมีอายุครรภ์ 26-28 สัปดาห์ โอกาสที่จะสามารถเลีียงเด็กให้รอด 80-90 %
- เด็กที่คลอดโดยมีอายุครรภ์ 29-31 สัปดาห์ โอกาสที่จะสามารถเลีียงเด็กให้รอด 90-95 %
- เด็กที่คลอดโดยมีอายุครรภ์ 32-33 สัปดาห์ โอกาสที่จะสามารถเลีียงเด็กให้รอด 95 %
- เด็กที่คลอดโดยมีอายุครรภ์ 95-98 สัปดาห์ โอกาสที่จะสามารถเลีียงเด็กให้รอด 95-98 %
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าดิฉันมีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด หรือแท้งลูก ดังนั้น ในครั้งนี้เรามีเช็คลิสกันว่าคุณแม่มีความเสี่ยงที่จะคลอดกำหนดหรือไม่ ด้วยกับ 10 อาการและพฤติกรรมอันตรายสำหรับคนที่กำลังตั้งครรภ์ มาฝากกันค่ะ
10 พฤติกรรมกรรมและอาหารที่มีความเสี่ยงให้คุณแม่คลอดก่อนกำหนดและแท้งลูก
คุณแม่มีมดลูกยืดขยายตัวหรือหดตัวมากเกินไป
เนื่องจากอาการมดลูกยืดขยาดตัวหรือหดตัวมากเกินไปจะทำให้คุณแม่เกร็งและเป็นสาเหตุทำให้เข้าสู่ภาวะคลอดกำหนด ซึ่งอาจเกิดจากได้หลายสาเหตุ เช่น มีเนื้องอกในผนังมดลูก การขยายตัวของเด็กในครรภ์ที่ใหญ่เกินไป หรือมีปริมาณน้ำคร่ำที่มากจนเกินไป
ปากมดลูกของคุณแม่สั้น
ขนาดของปากมากมดลูกสั้นก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้คุณแม่คลอดน้องก่อนกำหนด ซึ่งขนาดที่สั้นคือขนาดน้อยกว่า 2.5 ซม. ซึ่งถ้าหากถามว่าจะรู้ได้อย่างไร คำตอบคือไปหาคุณหมอเพื่อทำการอัลตาซาวด์เพื่อทำการตรวจครรภ์
คุณแม่มีมดลูกที่รูปร่างไม่เป็นปกติ
ลักษณะที่ผิดปกติของมดลูก เช่น มดลูกจะเป็นลักษณะรูปทรงเหมือนรูปหัวใจ บริเวณโพรงมดลูกจะมีเนื้อเยื้อปิดกั้น มีโพรงมดลูก 2 โพรง มีเนื้องอกบริเวณมดลูก มดลูกพิการตั้งแต่กำเนิด เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ คุณแม่จะมีความเสี่ยงที่จะคลอดลูกก่อนกำหนดทั้งนั้น
คุณแม่ตั้งครรภ์ติดต่อมากเกินไป
การตั้งท้องติดต่อกัน คือ คุณแม่ได้ทำการคลอดน้องได้ไม่นาน คุณแม่ก็เริ่มตั้งครรภ์ใหม่ในทันที ซึ่งสาเหตุดังกล่าวก็จะทำให้คุณแม่มีความเสี่ยงที่จะทำให้คุณแม่คลอดน้องก่อนกำหนด
คุณแม่เคยมีประวัติการคลอดลูกก่อนกำหนด
การที่คุณแม่เคยมีประวัติคลอดลูกก่อนกำหนดมาแล้ว คุณแม่ก็จะมีความเสี่ยงที่คลอดก่อนกำหนด และมีโอกาสเสี่ยงสูงมากกว่าสาเหตุอื่นๆ แต่คุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะหากคุณหมดสักถามแล้วคุณแม่มีประวัติ คุณหมอก็จะทำการฉีดยาป้องกันให้ค่ะ
คุณแม่มีอาการเลือดออกในขณะที่กำลังตั้งครรภ์
เลือดออกในขณะที่กำลังตั้งครรภ์ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งถึงแม้จะเกิดจากสาเหตุใดก็ตามก็ไม่ใช่เรื่องดีแน่นอน ดังนั้น หากมีเลือดออกมาคุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยในทันทีและทำการรักษา เพื่อป้องกันการส่งผลกระทบไปยังลูกของเราที่อยู่ในครรภ์
คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์สูบบุหรี่
การสูบบุหรี่ ไม่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งคำๆนี้ใช้ได้กับทุกเพศทุกวัย และโดยอย่างยิ่ง เป็นพฤติกรรมอันตรายและต้องห้ามอย่างมากสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เนื่องจาก คุณแม่จะมีความเสี่ยงต่อการที่คลอดก่อนกำหนด หรือทำให้คุณแม่แท้งลูกได้ ดังนั้น ห้ามเลยกับการสูบบุหรี่ระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์ และอีกอย่างสำหรับคุณผู้ชายที่ชอบสูบหรี่และมีมีภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์ ควรหลี่กเลี่ยงการสูบ หรือไม่ก็ไม่ควรเข้าใกล้ภรรยาในขณะที่สูบบหรี่ เพราะควันบุหรี่มันส่งผลต่อเด็กในท้องอย่างรุนแรง
คุณแม่เกิดติดเชื้อระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์
การติดเชื้อในที่นี้หมายถึง การติดเชื้อจากการทำฟัน หรือการติดเชื้อจากทางเดินปัสสาวะก็ดี ก็สามารถทำให้คุณแม่มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ดังนั้น ในเวลาที่ไปฝากครรภ์ ตรวจครรภ์ ควรให้ความสำคัญทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยทั้งตัวคุณแม่และลูกของคุณแม่
น้ำหนักตัวของคุณแม่น้อยเกินไป
อีกสาเหตุหนึ่งที่คุณแม่ต้องคลอดลูกก่อนกำหนด คือ น้ำหนักตัวของคุณแม่น้อยเกินไป
คุณแม่ตั้งครรภ์จากวิธีพิเศษ
สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์มาจากวิธีพิเศษ ที่ไม่ได้จากการตั้งครรภ์ที่มาจากธรรมชาติ แนวโน้มที่จะคลอดก่อนกำหนดก็เป็นไปได้สูงเช่นกัน ดังนั้น คุณแม่ที่อยู่ในข้อนี้ควรต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์เป็นพิเศษ
วิธีการป้องกันไม่ให้คุณแม่เข้าสู่ภาวะคลอดก่อนกำหนด
- ไม่ทำงานหนักจนเกินไป และพักผ่อนให้เพียงพอ
- พยายามอย่าคิดเยอะ คิดมาก หลีกเลี่ยงความเครียด
- ไม่กลั้นปัสสาวะ ถ้าไม่จำเป็น ถึงกลั้นก็อยากกลั้นจนไม่ไหว
- รับประทานอาหารสำหรับคนท้อง คืออาหารที่มีสารอาหารให้ครบและเหมาะสำหรับคนท้อง
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งท้อง หรือหากเลี่ยงเลี่ยงไม่ไหวก็ควรทำอย่างนุ่มนวล
- ดูแลสุขภาพทางช่องปาก เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- งดเครื่องดื่ทแอลกอฮอร์ งดสูบบุหรี่ หรือสารเสพติดทุกชนิด
- ให้ความสำคัญต่อการตรวจครรภ์ ในทุกๆ เดือน ไปตามหมอนัดทุกเดือน
บทความที่เกี่ยวข้อง