คำถามนี้ก็เป็นอีกหนึ่งคำถามยอดฮิตของคุณแม่ ที่มีข้อสงสัยว่าคนท้องขับรถได้ไหม โดยเฉพาะคุณแม่ที่ก่อนท้องต้องใช้ชีวิตเอง ขับรถเองไปไหนมาไหนด้วยตนเองประจำ และเมื่ออยู่ในช่วงท้องแล้วสามารถขับรถได้ไหม จะเป็นอันตรายต่อลูกในท้องหรือไม่
คำตอบของคำถามนี้ ถ้าหากคุณแม่จำเป็นต้องไปไหนมาไหนจริงๆ คุณแม่ที่กำลังท้องสามารถขับรถได้ นั่งรถยนต์ได้ นั่งรถมอเตอร์ไซต์ได้ แต่ให้เพื่อความปลอดภัยมากที่สุดคือการใช้รถยนต์ส่วนตัว เพราะเราสามารถควบคุมความเร็วได้และเส้นทางที่จะเดินทางได้ ซึ่งเทียบกับการใช้รถประจำทาง หรือมอเตอร์ไซต์รับจ้าง ที่ไม่สามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้เลย
อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบความอันตรายทางตรงต่อเด็กในครรภ์ที่มีผลมาจากการขับรถของคุณแม่ที่กำลังท้อง เพราะเนื่องจากเด็กทารกที่อยู่ในครรภ์จะมีน้ำคร่ำเป็นเกาะป้องกันรอบตัว ทำให้ปลอดภัยในระดับหนึ่ง
นอกจากนี้ เด็กที่อยู่ในครรภ์ก็ยังมีเกาะกำบังในชั้นถัดไปๆ มา ได้แก่ กล้ามเนื้อมดลูก กล้ามเนื้อผนังหน้าท้อง ลำไส้ กระดูกสันหลัง และกระดูกเชิงกรานของคุณแม่ด้วย แม้ว่าเด็กในท้องจะได้รับแรงกระแทกซึ่งจะไม่มีผลโดยตรงต่อเด็ก เว้นเสียแต่ว่ามีอุบัติเหตุที่รุนแรง อาจจะเกิดอันตรายต่อทารกโดยตรงต่อทารกในครรภ์โดยตรงได้ เช่น การลอกตัวของรกก่อนกำหนด
คนท้องขับรถ มี 6 สิ่งที่ควรรู้ก่อนการขับรถ
สำหรับคุณแม่ที่กำลังท้อง หลายท่านคงจะหลีกเลี่ยงการขับรถไม่ได้ จำเป็นต้องใช้รถเพื่อไปไหนมาไหน ดังนั้น ก่อนที่คุณแม่ที่กำลังท้องขับรถต้องรู้สิ่งต่อไปนี้
ช่วงเวลาไหนที่ไม่ควรขับรถ
ซึ่งมี 2 ช่วงที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงของการขับรถ ดังนี้
- ช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งท้อง เพราะช่วงนี้คุณกำลังมีอาการแพ้ท้อง มีอาการคลื่นไส้ เวียนหัว มีอาการอ่อนแรง ง่วงนอนง่าย ซึ่งอาการเหล่านี้จะส่งผลต่อความสามารถในการขับรถ ซึ่งหากเลี่ยงได้ ก็ควรที่จะให้คนอื่นหรือสามีของเราขับให้ดีกว่า หรือหากไม่มีจริงๆ และต้องขับในระยะทางไกล ควรจอดพักรถเป็นระยะๆ เพื่อให้ร่างกายพัก และเปลี่ยนอริยาบถ ของร่างกายของคุณแม่
- ช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนการคลอด เนื่องจากในช่วงนี้ ท้องของคุณแม่ใหญ่โต เป็นช่วงที่คุณแม่ไม่ควรที่จะขับรถเลย เพราะครรภ์ของคุณแม่ อาจจะใหญ่เกินกว่าที่จะเข้าไปนั่งขับรถ เพราะท้องของคุณแม่จะไปขัดขวางการหมุนของพวงมาลัย ทำให้การขับรถยาก และทำให้คุณแม่มีความรู้สึกอึดอัด และหากเกิดกรณีเบรกกระทันหัน ก็มีความเสี่ยงที่ท้องจะไปกระแทกกับพวงมาลัย ส่งผลทำให้ครรภ์ได้รับความเสียหาย และอาจเกิดการคลอดก่อนกำหนด ดังนั้นช่วงนี้ ควรหลีกเลี่ยงหรืองดการใช้รถค่ะ
ขับรถทุกครั้งควรคาดเข็มขัดนิรภัย
การคาดเข็มขัดนิรภัย ไม่เพียงแค่ความจำเป็นแค่คนท้อง และมันจำเป็นสำหรับทุกคน เพื่อความปลอดภัย และลดความเสี่ยงที่จะมีผลร้ายที่มาจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ แต่สำหรับคนท้องที่ขับรถ ก็ต้องระวังเป็นพิเศษเป็น 2 เท่า เนื่องจาก มีกรณีศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า คุณแม่ที่ขับรถแต่ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ส่งผลทำให้เด็กที่คลอดออกมามีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และมีความเสี่ยงที่จะมีโอกาสเลือดออกเป็นจำนวนมากในคณะที่คลอด เป็น 2.1 เท่า และมีความเสี่ยงที่เด็กจะเสียชีวิต เป็น 2.8 เท่า ของคุณแม่กำลังท้องขับรถและคาดเข็มขัดนิรภัย ดังนั้นแสดงว่า การคาดเข็มขัดนิรภัยสำหรับคนท้อง มีความจำเป็น เพื่อช่วยลดและป้องกันอันตรายต่อเด็กที่อยู่ในครรภ์ ในขณะที่เกิดอุบัติเหตุ
วิธีการนั่งในรถของคนท้องที่ถูกต้อง
เนื่องจาก ในขณะที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ และครรภ์ของคุณแม่ใหญ่ขี้น ในเวลานั่งในรถยนต์ คุณแม่ควรปรับเบาะรถให้ถอยห่างจากพวงมาลัยขึ้นอย่างน้อย 10 เซนติเมตร ปรับเบาะเอนให้เอนหลังมากกว่าปกติ และปรับพวงมาลังให้สูงขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ขณะที่เบรกรถและท้องของคุณแม่ไปกระแทกพวงมาลัย รวมทั้งไม่ให้แอร์แบ็กไปกระแทกกับท้องของคุณแม่ อีกเรื่องที่สำคัญคุณแม่ควรปรับให้คุณแม่นั่งสบายมากที่สุด
วิธีการคาดเข็มขัดนิรภัยอย่างถูกต้อง
วฺิธีการคาดเข็มขัดที่ถูกวิธี คือพาดสายจากจุดข้างสะโพกไป พาดผ่านต้นขา แต่ควรให้อยู่ระดับต่ำกว่าท้องของคุณแม่ และสายบน ควรให้อยู่ช่วงราวนมและคอ ส่วนสายล่างให้ปรับโดยไม่รั้งจนแน่นเกินไปและไว้บริเวณใต้ท้อง โดยที่จะต้องเว้นสามเหลี่ยมไว้ตรงบริเวณท้อง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยในการกระจายการกระแทก และเกิดการกระชากกลับของเข็มขัดนิรภัย
แต่มีคุณแม่หลายคนก็มีความกังวลว่าการคาดเข็มขัดนิรภะยจะไปรัดลูกที่อยู่ในครรภ์หรือไม่ ซึ่งคุณแม่ไม่จำเป็นต้องกังวล ถ้าหากคุณแม่ทำตามคำแนะนำ ไม่พาดสายรัดบริเวณบนหน้าท้อง ก็ไม่เกิดอันตรายต่อลูกค่ะ
มีตัวช่วยลดอาการปวดหลังขณะขับรถ
รูปแบบของร่างกายของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ ทำให้คุณแม่มีอาการปวดหลังได้ง่าย และยิ่งถ้าคุณปม่ต้องขับรถด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้คุณแม่ทวีอาการปวดหลังได้มากขึ้น ดังนั้น คุณแม่หาที่พักพิงหลังเพื่อลดบรรเทาอาการปวดหลัง
รู้เรื่องอันตรายที่เกิดขึ้นในขณะขับรถ
ถึงแม้จะไม่ได้เกิดอุบัติเหตุ เฉี่ยวชนรุนแรง แต่ถ้าได้รับการกระทบกระเทือน กระแทก หรือแค่ขับรถตกหลุม เป็นสิ่งที่ควรระวังให้อย่างมาก เพราะอาจส่งผลอันตรายต่อลูกได้
บทความที่เกี่ยวข้อง