หัวข้อที่น่าสนใจ
โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก เป็นโรคที่มีความอันตรายมากต่อเด็ก เนื่องจากโรคนี้คือโรคข้ออักเสบเรื้อรังที่สามารถพบได้บ่อยในเด็กที่มีอายุน้อยว่า 16 ปี ซึ่งสามารถพบได้ในอัตราส่วน 1 คน ต่อ 1,000 คน โรคข้ออักเสบไม่ทราบเป็นภัยต่อสุขภาพสร้างความทรมานโดยเฉพาะในเด็ก เพราะเด็กที่เป็นโรคนี้ เมื่อมีอาการปวดข้อ บวม ฯลฯ หากมีอาการที่รุนแรงอาจส่งผลให้เด็กพิการหรือเสียชีวิตได้
โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุเป็นกลุ่มโรคภูมิค้มกันทำร้ายตัวเอง ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าโรคนี้เกิดจากสาเหตุอะไร เพราะเนื่องจากโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้หลายปัจจัย เช่น ปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เช่น การติดเชื้อ ทำให้เกิดผิดปกติทางภูมิคุ้มกันทำลายข้อตัวเอง ส่งผลทำให้เป็นข้ออักเสบ
โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุมีด้วยกันหลายชนิด ดังนี้
โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุ สามารถแบ่งกลุ่มอาศัยจำนวนข้อที่จะอักเสบเป็นหลัก และจะดูอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ ขึ้นผื่น หรืออาการอื่นๆ แบ่งเป็น 5 ชนิด ดังนี้
โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุชนิดซิสเต็มมิก
โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุชนิดนี้ จะมีลักษณะคือผู้ป่วยจะมีไข้ ขึ้นผื่น และมีการอักเสบต่างๆ ในระบบต่างๆ ในร่างกาย และมีอาการอื่นร่วมคือ ปวดกล้ามเนื้อ ตับม้ามโต ต่อมน้ำเหลืองโต เยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ และเยื้อหุ้มปอด ข้ออักเสบประมาณ 5 ข้อขึ้นไป จะพบได้ในเด็กชายมากกว่าเด็กผู้หญิง และพบมากในช่วงวัยเด็กเล็ก และช่วงวัยก๋อนเข้าโรงเรียน ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุชนิดซิสเต็มมิก มีประมาณ 10% ของผู้ป่วยข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุทั้งหมด
โรคข้ออักเสบที่มีอาการอักเสบที่จุดเกาะเส้นเอ็นร่วมด้วย
สำหรับโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุชนิดนี้ จะเป็นการอักเสบของจุดที่เส้นเอ็ดยึดกับกระดูก ซึ่งการอักเสบบริเวณจุดเกาะของกระดูก ส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดที่มาก ส่วนใหญ่จะพบบริเวณเท้าและบริเวณจุดเกาะเอ็นร้อยหวาย ในผู้ป่วยบางรายจะมีอาการม่านตาอักเสบซึ่งจะมีความแตกต่างกับชนิดอื่นๆ ของโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นเด็กส่วนใหญ่จะมีอาการตาแดง น้ำตาไหล สู้แสงไม่ได้ โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุชนิดนี้ส่วนใหญ่มักพบในเด็กผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 6 ปี การวิจัยทดสอบพบว่าในผู้ป่วยบางรายโรคจะสงบในเวลาที่ผ่านมา แต่สำหรับผู้บ่วยบางรายอาการจะรุนแรง ลุกลามไปที่กระดูกไขสันหลังส่วนล่าง ข้อสะโพก กระดูกเชิงกราน หลังแข็ง มีอาการปวดหลังในตอนเช้าบริเวณที่มีข้อติดแข็งร่วมด้วยบ่งบอกถึงอาการอักเสบของกระดูก
โรคข้ออักเสบที่มีอาการอักเสบไม่ทราบสาเหตุชนิดหลายข้อ
จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
โรคข้ออักเสบที่มีอาการอักเสบไม่ทราบสาเหตุชนิดหลายข้อ ที่มีค่าอักเสบรูมาตอยด์ให้ผลบวก จะมีลักษณะคล้ายกับโรครูมาตอยด์ในผู้ใหญ่ จะมีลักษณะอาการข้ออักเสบทั้ง 2 ข้าง โดยจะเริ่มที่บริเวณข้อมือ และนิ้วเท้า และก็ลามไปที่ข้ออื่นๆมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายและเริ่มมีอาการหลังอายุ 10 ปี ส่วนใหญ่จะมีอาการรุนแรง
โรคข้ออักเสบที่มีอาการอักเสบไม่ทราบสาเหตุชนิดหลายข้อที่มีค่าอักเสบรูมาตอยด์ให้ผลลบ สามารถพบในเด็กทุกอายุ มีอาการที่ข้อไหนก็ได้ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นได้ทั้งข้อใหญ่และข้อเล็ก สำหรับทั้งสองชนิด ในการรักษาจะวางแผนไว้ตั้งแต่ต้น หรือทันทีให้การวินิจฉัยเนื่องจากการรักษาให้เร็วและเหมาะสมนำไปสู่ผลการรักษาที่ดี
โรคข้ออักเสบที่มีอาการอักเสบไม่ทราบสาเหตุชนิดข้อน้อย
โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็กชนิดข้อน้อยเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด พบประมาณ50% ของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็กทั้งหมด โรคนี้มีลักษณะมีข้อน้อยกว่า 5 ข้อในช่วง 6 เดือนแรก และไม่มีอาการทางซิสเต็มมิก พบการอักเสบบริเวณข้อขนาดใหญ่ (เช่น ข้อเข่าและข้อเท้า)มักเป็นไม่เหมือนกันทั้งสองข้าง บางครั้งมีอาการเพียงข้อเดียวในผู้ป่วยบางรายมีจำนวนข้ออักเสบมากกว่า 5 ข้อหลังจาก 6 เดือนจะเรียกว่าโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็กชนิดข้อน้อยแบบเพิ่มขึ้น ถ้าหากจำนวนข้ออักเสบน้อยกว่า5 ข้อตลอดระยะเวลาการเป็นโรคเรียกว่าโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็กชนิดข้อน้อยแบบคงที่
โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็กชนิดข้อน้อยมักเกิดในเด็กอายุก่อน 6 ปี ที่เป็นเพศหญิงด้วยการรักษาที่เหมาะสม การพยากรณ์โรคมักจะดี ในผู้ป่วยที่มีจำนวนข้ออักเสบน้อยแบบคงที่แต่ในผู้ป่วยที่มีจำนวนข้ออักเสบน้อยแบบเพิ่มขึ้น การพยากรณ์โรคจะแตกต่างออกไปเนื่องจากสามารถกลายเป็นข้ออักเสบแบบหลายข้อได้ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทางตา เช่นการอักเสบของลูกตาส่วนหน้า(ม่านตาส่วนหน้าอักเสบ) แผ่นเยื่อบุอักเสบปกคลุมบริเวณดวงตาเนื่องจากยูเวียส่วนหน้าประกอบไปด้วยม่านตาและซิเลียรีบอดี้ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจึงเรียกว่าม่านตาอักเสบเรื้อรังหรือยูเวียส่วนหน้าอักเสบเรื้อรัง
ในโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็กการอักเสบของม่านตามักเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและไม่มีอาการเจ็บหรือตาแดงหากไม่ตรวจและปล่อยไว้ไม่รักษา จะมีการดำเนินโรคจนกระทั่งเกิดความเสียหายที่รุนแรงต่อดวงตาการตรวจพบได้อย่างรวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญ เพราะส่วนใหญ่มักไม่มีอาการตาแดง และไม่บ่นเรื่องตามัวภาวะม่านตาอักเสบจึง ไม่เป็นที่สังเกตของผู้ปกครองหรือแพทย์ผู้ดูแล ปัจจัยเสียงในการเกิดม่านตาอักเสบคือเป็นโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็กตั้งแต่อายุน้อยและมีผล ANA (Anti-Nuclear Antibody) บวก ในกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่มีความเสี่ยงสูงควรตรวจตาเป็นประจำกับจักษุแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้กล้องslit lamp ควรตรวจทุก 3 เดือนและตรวจต่อเนื่องระยะยาว
โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน
โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงินคือโรคที่มีการอักเสบของข้อที่มีผื่นสะเก็ดเงินร่วมด้วยผื่นสะเก็ดเงินเป็นการอักเสบของผิวหนังที่เป็นปื้นๆและมีขุยรอบๆมักเกิดบริเวณข้อศอกและข้อเข่าบางครั้งมีรอยโรคเฉพาะที่เล็บอย่างเดียว หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคสะเก็ดเงินอาจมีผื่นนำมาก่อนหรือเกิดตามหลังการมีข้ออักเสบ ลักษณะที่สำคัญที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคนี้คือมีอาการบวมของนิ้วมือหรือนิ้วเท้า(นิ้วบวมคล้ายกับไส้กรอกหรือ dactylitis) และการเปลี่ยนแปลงของเล็บ
(เล็บบุ๋ม) อาจพบญาติสายตรงลำดับแรกเป็นโรคสะเก็ดเงิน ม่านตาอักเสบเรื้อรังอาจเกิดขึ้นได้ดังนั้นควรตรวจตาเป็นประจำผลของการรักษาในโรคนี้แตกต่างกันได้มากการตอบสนองต่อการรักษาอาจแตกต่างกันทั้งทางด้านผิวหนังและข้อหากผู้ป่วยมีข้ออักเสบจำนวนน้อยกว่า5ข้อการรักษาจะเหมือนกับโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็กชนิดข้อน้อยหากผู้ป่วยจำนวนข้ออักเสบมากกว่า 5 ข้อ การรักษาจะเหมือนกับการรักษาข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็กชนิดหลายข้อ การตอบสนองต่อการรักษาในแต่ละคนอาจแตกต่างกันเนื่องจากต้องดูการตอบสนองต่อการรักษาทั้งข้ออักเสบและผื่นสะเก็ดเงิน
สาเหตุของโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุ
ตามปกติร่างกายของเราจะมีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายเพื่อป้องกัน และกำจัดเชื้อโรคต่างๆ ซึ่งภูมิคุ้มกันในร่างกายจะสามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งอะไรแปลกปลอมที่อาจไปทำลายร่างกายของเราหรือเซลล์ของเรา
แต่สำหรับโรคนี้คือโรคที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของเราไม่สามารถแยกแยะสิ่งใดแปลกปลอม และสิ่งไหนที่เป็นเซลล์ของเราเอง ซึ่งสำหรับคนที่เป็นโรคนี้ภูมิต้านทานจะมาทำลายส่วนของเราเองด้วย ส่งผลทำให้เกิดการอักเสบ เช่น การอักเสบที่เยื่อบุข้อ เป็นต้น
อาการของโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีอาการของข้ออักเสบ ได้แก่ การปวดข้อ ข้อฝืดตึง จะเคลื่อนไหวลำบาก มักจะเป็นในช่วงเช้าหลังจากตื่นนอน หรือเวลาที่ไม่มีการเคลื่อนไหวนานๆ หรือในบางรายอาจจะมีอาการข้อบวม เดินไม่ค่อยได้ จะกำมือ ถือของไม่สะดวก หากอาการที่รุนแรง ได้แก่ มีไข้สูงแบบเรื้อรังนานถึง 2 สัปดาห์ และมีผื่นขึ้นสีชมพูอมส้ม จะขึ้นตอนมีไข้สูง และจะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต ตับม้ามโต และเยื่อบุอวัยวะภายในอักเสบร่วมด้วย
การรักษาโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุ
จะใช้ยาเพื่อลดการอักเสบ ซึ่งใช้ยากลุ่มในการปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคข้อ ในผู้ป่วยบางรายอาจได้รับการฉีดยาเพื่อลดอาการอักเสบในข้อ นอกจากนี้ผู้ป่วยควรได้รับการทำกายภาพบำบัด และตรวจตาเพื่อคัดกรองภาวะม่านตาอักเสบเป็นระยะ และเพื่อทำให้การรักษาเป็นไปด้วยดี การดูแลผู้ป่วยจึงเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ดูแลควรพาผู้ป่วยมาพบแพทย์ตามแพทย์นัด และกินยาอย่างสม่ำเสมอมีวินัย นอกจากนี้แนะนำให้ทำการออกกำลังกายเบาๆ เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน จะช่วยเพื่อความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อและข้อ และเป็นการป้องกันข้อติด หากมีอาการกำเริบผู้ดูแลควรรีบพาผู้ป่วยพบแพทย์ในทันที
บทความที่เกี่ยวข้อง