หัวข้อที่น่าสนใจ
การแกล้งเด็ก แหย่เด็ก ผู้ใหญ่มักมีความเข้าใจว่าเป็นการเอ็ดดูเด็กอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าแกล้งเด็ก แหย่เด็ก แล้วเด็กตลก เด็กหัวเราะ ก็โอเค แต่หากแกล้งแล้ว เด็กร้องไห้ โมโห แล้วชื่นชอบมีความพึงพอใจในความรู้สึกของผู้ใหญ่ อันนี้เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะมันจะส่งผลร้ายต่อเด็ก และเป็นผลระยะยาวไปถึงอนาคต

เด็กหลายคนที่ถูกแกล้งจนความรู้สึกรับไม่ไหว “จนถึงขั้นฆ่าตัวตาย” ซึ่งเด็กที่ชอบแกล้งเด็กคนอื่น อาจจะมีพื้นฐานทางครอบครัวที่มีอาจจะแสดงให้เห็นว่าการแกล้งเป็นสิ่งที่ทำได้ เป็นเรื่องที่ทำแล้วมีความสุข สนุก และไม่รู้ถึงผมเสียที่ตามมา
ดังนั้น ในครั้งผมว่าดูว่าผลเสียของการแกล้งเด็ก จะส่งผลต่อเด็กอย่างไรบ้าง รวมถึงวิธีการหยอกล้อเด็กที่ถูกต้องและไม่สร้างผลเสียให้กับเด็กกันค่ะ
ผลเสียของการแกล้งเด็ก

ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง
การแกล้งโดยการใช้คำพูด ซึ่งคำพูดที่พูดเล่นของผู้ใหญ่ บางคำอาจไปทำร้ายจิตใจ หรือความเชื่อมั่นในตัวของเด็กได้ เช่น การใช้คำพูดเชิงเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น แบบ ทำไม่ไม่ทำแบบเพื่อนบ้างละ ทำไมทำไม่ได้ คนอื่นยังทำได้เลย เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้เด็กขาดความมั่นใจ และโทษตัวเองว่าทำอะไรไม่ได้สักอย่าง ไม่เหมือนกับคนอื่น เมื่อเด็กขาดความมั่นใจในตัวเอง ในอนาคตเมื่อเด็กโตเป็นผู้ใหญ่ เด็กจะเป็นคนที่ที่มีความวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลา และจะคิดกับตัวเองอยู่เสมอทำไม่ได้หลอก รู้สึกผิดอยู่ตลอดเวลา คิดว่าจะทำอะไรได้ไม่ดี และกลายเป็นคนที่ไม่กล้าเข้าสังคม ชอบแยกตัวออกมา หรือร้ายแรงที่สุดคือต่อต้านสังคม และทำร้ายตัวไปเลย
ขาดความมั่นคงทางด้านจิตใจ
ความมั่นคงทางด้านจิตใจเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะความมั่นคงในจิตใจของเด็ก จะมีการพัฒนาการไปได้ในหลายๆ ด้าน และพัฒนาในด้านแย่ๆไปด้วย เช่น เมื่อลูกดื้อแพ่ง ก็ขู่ว่าจะทิ้งนะ ก็จะทำให้เด็กมีความรู้สึกกลัวที่จะถูกการโดนทิ้ง จนทำให้เด็กไม่กล้าที่จะดื้อกับพ่อแม่เพราะกลัวถูกทิ้ง ซึ่งถึงแม้ผู้ใหญ่จะมองเป็นเรืองที่สนุก หรือตลก รู้สึกว่าดีที่ลูกรักเรา แต่ที่จริงแล้วเด็กเริ่มมีการขาดความมั่นคงทางด้านจิตใจมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เด็กไม่กล้าที่จะออกไปเรียนรู้ เผชิญโลก เพราะในใจมีแต่คำว่ากลัวโดนแม่ทิ้ง ซึ่งสุดท้ายจะส่งผลให้เด็กมีทัศนคติในการใช้ชีวิต และเกิดปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ต่างๆในอนาคต
เด็กอาจมีพฤติกรรมลอกเลียนแบบ
ในช่วงวัยเด็ก เป็นวัยที่กำลังเรียนรู้สิ่งๆรอบตัว เลียนแบบพฤติกรรมต่างๆ และจำนำกลับไปใช้ในชีวิต ซึ่งหากเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่คนรอบตัวมีพฤติกรรมที่ชอบกลั่นแกล้ง ชอบพูดล้อเลีียน มีการหยอกล้อ หรือด่าทอผู้อื่นอยู่อย่างสม่ำเสมอ เด็กจะเลียนแบบพฤติกรรมแบบนั้น เพราะเด็กจะคิดว่าเป็นเรื่องปกติที่ทำได้ ไม่ได้คิดถึงการแยกแยะได้ว่าคำพูดไหนเป็นการหยอกล้อเล่น หรือคำพูดไหนเป็นคำไม่สุภาพ ซึ่งเมื่อเด็กเข้าสังคม หรือได้พบเพื่อนใหม่ ก็อาจจะมีปัญหาได้ เพราะเด็กอาจจะสร้างความรำคาญ หรือคุกคามเพื่อนได้ นี่คือผลเสียหากต่อความสัมพันธ์ต่อการเข้าสังคมได้ค่ะ
เด็กอาจมีอาการทางจิต
เด็กๆ นั้นมีจินตนาการที่สูงอยู่แล้ว หากผู้ใหญ่แกล้งขู่ แกล้งทำให้เขากลัว เขาก็จะยิ่งกลัวเตลิดเข้าไปใหญ่ เด็กที่ถูกแกล้ง หรือหลอกให้กลัวบ่อยๆ เช่น หลอกผี หลอกด้วยการเอาสัตว์ร้ายมาขู่ อาจจะทำให้เด็กกลัวฝังใจไปจนโต กลายเป็นอาการในกลุ่ม Phobia ทำให้เด็กๆ มีอาการกลัวสิ่งต่างๆ มากจนกระทบต่อการใช้ชีวิตได้ค่ะ
วิธีการหยอกล้อเด็กที่ไม่ส่งผลเสียต่อเด็ก

แน่นอนว่าจะอย่างไรเราก็ยังคงรักและอยากเล่นกับลูกกับหลาน หากแตะต้องไม่ได้เลยก็คงจะรู้สึกอึดอัดไม่ใช่น้อย มาดูกันไปทีละข้อนะคะว่าควรทำอย่างไรบ้าง
- ชวนพูดคุยเรื่องที่สนใจหรือสนุกสนานแทนการวิจารณ์รูปร่างหน้าตาและความสัมพันธ์เพื่อให้เกิดหัวข้อสนทนาที่สร้างสรรค์กับเด็ก
- ไม่หยิบหรือดึงของออกจากมือลูกหรือหลานแต่ใช้วิธีขอดู,ขอจับแทนเพื่อให้เด็กรู้จักที่จะมีน้ำใจแบ่งปัน
- วางตัวให้เหมาะสมกับการเป็นผู้ใหญ่ หากพบเห็นว่ามีญาติผู้ใหญ่คนอื่นในบ้านมีการแกล้งรุนแรงหรือพูดวาจาไม่ดี ให้เตือนกันเองว่าไม่ควร
- คอยชมและคอยบอกเสมอว่าเขาเป็นลูก, หลานที่รักและเป็นครอบครัวเดียวกันเสมอเพื่อสร้างความรักความผูกพันระหว่างผู้ใหญ่และเด็กให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง