การเลี้ยงลูกแฝด

การเลี้ยงลูกเดี่ยวว่าเหนื่อยแล้ว เจอการเลี้ยงลูกแฝดยิ่งทวีคูณความยากและเหนื่อยเป็น 2 เท่าเข้าไปอีก ในปัจุบันอัตราการมีลูกแฝดมีเพิ่มมากขึ้น เพราะการตั้งครรภ์ไม่เพียงการตั้งครรภ์แบบธรรมชาติเพียงอย่างเดียว แต่ในปัจจุบันการตั้งครรภ์ก็มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ทำให้การตั้งครรภ์ไม่ลำบากเหมือนเมื่อก่อน ซึ่งในบางครั้งเทคโนโลยีก็ดีจนคุณแม่หลายท่านสามารถตั้งครรภ์ลูกแฝดได้โดยไม่ทันตั้งตัว ซึ่งการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติส่วนใหญ่เด็กจะมาจากไข่ใบเดียวกัน ซึ่งลักษณะพันธุกรรมต่างๆจะมีความเหมือนกัน จะเป็นเพศเดียวกัน รุปร่างหน้าตาจะแยกออกกันลำบาก แต่สำหรับการตั้งครรภ์โดยใช้เทคโนโลยีส่วนใหญ่จะเด็กจะอยู่กันไข่คนละใบ จะมีลักษณะของะพันธุกรรมต่างๆ รูปหน้าตา หรือเพศ อาจจะมีความเหมือนกันหรือแตกต่างกันก็ได้
ในการเลี้ยงดูเด็กแฝดไม่ใช่เรื่องที่ง่ายๆ ในช่วงขวบปีแรก ถือเป็นการทดสอบที่มีความท้าทายเป็นอย่างมาก ซึ่งต้องมีการปรับเปลี่ยนไปในทุกๆด้านภายในครอบครัว ซึ่งความยากง่ายมีความแตกต่างๆแต่ละครอบครัว รวมไปถึงวิธีการเลี้ยงดูของแต่ละครอบครัว เนื่องจากความซน ความดื้อ ลักษณะนิสัยของเด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันออกไป ทำให้มันไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวในการเป็นตำราการเลี้ยงดู ไม่สามารถใช้ได้แบบเดียวกันในทุกครอบครัว

การเตรียมความพร้อมเลี้ยงลูกแฝด

การเตรียมความพร้อมไม่ว่าจะเลี้ยงลูกเดี่ยวหรือลูกแฝดคุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมความพร้อมในทุกๆเรื่อง เพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้ชีวิตและพร้อมรับการเจริญเติบโตของลูก

การจัดเตรียมพื้นที่ภายในบ้าน

การจัดสัดส่วนพื้นที่ภายในบ้าน ให้มีความสะดวกในการใช้สอย จะช่วยให้การเลี้ยงลูกง่ายขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ เช่น การจัดครัวให้อยู่ใกล้กับการเลี้ยงลูก เพื่อเวลาทำอาหารจะได้หันมาดูลูกได้ หรือที่อาบน้าใกล้คอกที่ไว้เล่นของลูก เป็นต้น ซึ่งการจัดโซนลูกให้อยู่เป็นสัดส่วนก็จะช่วยให้ประหยัดเวลาไปในตัว แต่ทั้งนี้ก็ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกเป็นหลักแต่ก็แฝงถึงความอิสระในการเล่นได้ ก็จะช่วยให้คุณแม่มีเวลาไปทำอย่างอื่นได้โดยที่ลูกอยู่ในสายตาของเราตลอดเวลา

สร้างวินัยภายในบ้านเป็นสิ่งสำคัญ

เมื่อเราวางแผนในการจัดพื้นที่ภายในบ้านแล้ว การสร้างวินัย การจัดระเบียบ ขั้นตอนทำเป็นกิจวัตร เช่น การจัดตารางเวลาในการเลี้ยงลูกเป็นระบบ การช่วยกันระหว่างคุณพ่อ และคุณแม่ จะเป็นการปลูกฝังทั้งตัวคุณพ่อคุณแม่เอง และอาจจะส่งผลการสร้างวินัยไปถึงลูกอีกด้วย ให้ลูกซึมซับติดเป็นนิสัย และยังเป็นการลดความเสี่ยงที่่จะลืมทำสิ่งต่างๆได้อีกด้วย ช่วงแรกอาจจะยากหน่อย แต่หากทำเป็นประจำก็จะเป็นความเคยชินไปเอง

การช่วยกันระหว่างคุณพ่อคุณแม่

การเลี้ยงลูกไม่ใช่หน้าของคนเป็นแม่เพียงอย่างเดียวคุณพ่อก็ต้องช่วยคุณแม่ด้วย อย่างสำนวนสภาษิตว่า สามัคคีคือพลัง แบ่งหน้าที่กัน เพื่อลดความเหนื่อยซึงกันและกัน เพราะในปัจจุบันไม่ใช่คุณพ่อเพียงอย่างเดียวที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน แต่คุณแม่ก็ออกไปทำงานนอกบ้านด้วย ดังนั้น ต่างคนต่างเหนื่อย ก็ต้องช่วยกันในการเลี้ยง แบ่งหน้าที่เป็นสัดส่วนชัดเจน จะทำให้ลดความเหนื่อยล้า และส่งผลให้คุณพ่อคุณแม่พักผ่อนที่เพียงพอกันด้วย

การพาครอบครัวทำกิจวัตรต่างๆ นอกบ้าน

เมื่อเราจัดการระบบการเลี้ยงดูภายในบ้านแล้ว การออกมาทำกิจกรรมนอกบ้าน ก็ต้องจัดระบบด้วยเช่นกัน ซึ่งสำหรับลูกที่อายุระหว่างแรกเกิดถึง 1 ปี เป็นช่วงที่ทั้งพ่อแม่ และลูกอยู่ในช่วงปรับตัวเข้าหากันให้ลงตัว โดยคุณพ่อคุณแม่เริ่มพาลูกออกไปข้างนอกบ้าน เช่น สวนสาธารณะใกล้บ้าน สนามเด็กเล่น เพื่อให้ลูกได้เปิดหูเปิดตามสิ่งใหม่ๆนอกบ้าน และเป็นการสังเกตุพฤติกรรมของลูกภายนอกบ้าน จะได้จัดระบบและรับมือลูกของคุณได้

เคล็ดลับการเลี้ยงลูกแฝดแบบง่ายๆ

  1. หาผู้ช่วยมาเลี้ยงดู การเลี้ยงแฝดเหนื่อยมากกว่าเลี้ยงลูกคนเดียว ดังนั้นต้องหาคนมาช่วยดู ช่วยเลี้ยง เช่น ปู่ยา ตายาย ลุงป้า น้าอา หากไม่มีจริงๆ ก็จำเป็นต้องจ้างพี่เลี้ยง แต่หากจ้างพี่เลี้ยงก็ต้องดูดีๆ น่าเชื่อถือตรวจสอบได้ง่าย
  2. การซื้ออาหารที่ปรุงสำเร็จก็จะช่วยประหยัดเวลา แต่ก็ต้องเลือกร้านที่สะอาดถูกสุขอนามัย รับประทานแล้วปลอดภัย
  3. ฝึกลูกเข้านอนให้เป็นนิสัย เพื่อช่วยลดความเสี่ยงตื่นมางอแง และช่วยให้คุณพ่อคุณแม่มีเวลาพักผ่อนที่มากขึ้น
  4. หารถเข็นเด็กแฝด จะช่วยทุ่นแรงได้เยอะ
  5. คุณพ่อต้องช่วยคุณแม่เลี้ยง อย่าปล่อยให้คุณแม่เลี้ยงคนเดียว เพื่อให้คุณแม่ได้พัก หรือให้คุณแม่มีเวลาไปทำธุรส่วนตัวอย่างอื่นบ้าง
  6. จัดระบบสิ่งของให้เป็นระเบียบและหยิบใช้ง่าย เพื่อลดเวลาและตามเก็บได้ง่าย
  7. การจัดตารางชีวิตและการเลี้ยงดูลูกให้เป็นระบบ เพื่อความราบรื่นในการใช้ชีวิต
  8. ตั้งชื่อลูกให้มีความแตกต่างกันเพื่อง่ายต่อการเรียกลูก โดยเฉพาะแฝดเหมือน
  9. หมั่นเรียกชื่อลูกเสมอ ในเวลาที่พูดกับลูกแต่ละคน
  10. แต่งตัวลูกให้มีความแตกต่างกันเมื่อลูกโตขึ้น โดยเริ่มอย่างช้าตั้งแต่ลูก 6 เดือนขึ้นไป
  11. ซื้อของเล่นให้กับลูกให้แต่ละคน และมีลิ้นชักหรือที่เก็บของเค้าของในแต่ละคน
  12. ควรซื้อของขวัญวันเกิด ปีใหม่ ควรซื้อให้ของใครของมันจะได้ไม่เกิดการแย่งกัน หรือน้อยใจซึ่งกันและกัน
  13. สนับสนุนการทำกิจกรรมตามความชอบของลูกแต่ละคน โดยไม่จำเป็นต้องทำอะไรเหมือนกันไปสะทุกเรื่อง
  14. หาเวลาอยู่กับลูกแต่ละคนเท่าๆกัน เพื่อพูดคุย หรือทำกิจกรรมที่ร่วมกันเพื่อให้ลูกได้รู้สึกถึงความเอาใจใส่
  15. เมื่อถึงช่วงเข้าเรียน ควรให้ลูกแยกห้องกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการเปรียบเทียบภายในห้อง และเปิดโอกาศให้เป็นตัวของตัวเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here