กะโหลกศีรษะเชื่อมติดผิดปกติ คืออะไร

กะโหลกศีรษะเชื่อมติดผิดปกติ (Craniosynostosis) เป็นข้อบกพร่องโดยกำเนิดที่กระดูกในกะโหลกศีรษะของทารกรวมเข้าด้วยกัน เกิดขึ้นเมื่อศีรษะของทารกไม่ได้รับการสร้างขึ้นอย่างสมบูรณ์ อาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่อไปในโครงสร้างของสมอง ซึ่งส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางการเรียนรู้และการมองเห็นของลูกน้อย

สาเหตุกะโหลกศีรษะเชื่อมติดผิดปกติ

ความผิดปกตินี้เกิดจากกระดูกที่มาประกอบกันเป็นกะโหลกศีรษะเชื่อมติดกันผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นเพราะปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพันธุกรรม ทำให้ศีรษะผิดรูปและกดรัดสมองไม่ให้ขยายขนาดได้อย่างปกติ ส่งผลให้เกิดความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ โดยแบ่งประเภทของความผิดปกติออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • กลุ่มที่มีการเชื่อมติดของรอยประสานกะโหลกศีรษะหลายตำแหน่ง ร่วมกับความผิดปกติอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย (syndromic craniosynostosis) ทารกในกลุ่มที่มีความผิดปกติประเภทนี้ เกิดจากการเชื่อมติดของกระดูกกะโหลกศีรษะหลายชิ้น ทำให้กะโหลกศีรษะและใบหน้าผิดรูปอย่างรุนแรง เป็นความพิการแต่กำเนิด เช่น แขน ขา มือ เท้า ตา การได้ยิน เป็นต้น และสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้ค่ะ
  • กลุ่มที่มีการเชื่อมติดของรอยประสานกะโหลกศีรษะตำแหน่งเดียว (non-syndromic craniosynostosis) ความผิดปกติประเภทนี้ทำให้กะโหลกศีรษะรอบๆ รอยประสานนั้นขยายตัวไม่ได้ ศีรษะมีรูปร่างบิดเบี้ยว เช่น หน้าผากด้านใดด้านหนึ่งยุบ แบนราบ หรือบิดเบี้ยว เป็นต้น

สัญญาณและอาการของ Craniosynostosis

อาการผิดปกติมักพบเมื่อทารกแรกเกิดหรือภายหลังการคลอดไม่กี่เดือนค่ะ โดยพบความผิดปกติต่างๆดังนี้

  • รูปร่างของกะโหลกศีรษะไม่สม่ำเสมอ
  • จุดอ่อนที่ด้านบนของศีรษะหรือที่เรียกกันว่า กระหม่อม ทารกผิดปกติหรือหายไป
  • ศีรษะของทารกจะมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ
  • เบ้าตาอาจแคบลงหรือกว้างขึ้น ทารกอาจมีปัญหาในการเรียนรู้และอาจสูญเสียการมองเห็น

ภาวะแทรกซ้อนภาวะกะโหลกศีรษะเชื่อมติดผิดปกติ

หากอาการไม่ปรากฏแสดงเมื่อยังเด็กและไม่ได้รับการรักษาตามเวลา อาจมีภาวะแทรกซ้อนหรือส่งผลต่อตัวลูกน้อยได้ เช่น ความผิดปกติของใบหน้า ศีรษะผิดรูปของทารก อาจกลายเป็นแบบถาวร การตอบสนองต่อการพัฒนาล่าช้า ปัญหาสายตา เป็นต้น

Craniosynostosis รักษาอย่างไร

การรักษาภาวะกะโหลกศีรษะเชื่อมติดผิดปกตินั้น รักษาได้โดยการผ่าตัดเพื่อปรับรูปร่างกะโหลกศีรษะใหม่ โดยที่กระดูกจะถูกนำออกจากบริเวณที่ได้รับผลกระทบของกะโหลกศีรษะเปลี่ยนรูปร่าง เพื่อไม่ให้มีผลต่อสมองใต้รอยประสานที่ผิดปกติ และป้องกันแก้ไขความผิดปกติของศีรษะและใบหน้า ซึ่งอาจต่อได้รับการดูแลรักษาโดยทีมบุคคลากรผู้เชี่ยวชาญอย่างเหมาะสมและต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหลายปีค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here